http://www.giftshopchristian.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 รู้จักร้านคริสเตียนกิ๊ฟช๊อป

 แผนที่

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อ/สั่งซื้อสินค้า

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

สัญญลักษณ์แห่งพระพร

โกสน

(อ่าน 550/ ตอบ 0)

ต้นข้าว

โกสน เป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่มีจุดเด่นอยู่ที่สีสันและลักษณะรูปทรงของใบที่มีความสวยงามต่างไปจากไม้อื่นๆ สันนิษฐานว่ามีผู้นำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทยเมื่อประมาณกว่า 100 ปี มาแล้วหรือพอๆ กับบอนสีและไม้ประดับอื่นๆ อีกหลายชนิด คำว่า โกสน เพี้ยนมาจากคำว่า โกรต๋น หรือ Croton ในภาษาอังกฤษ โกสนเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง มีลักษณะใบแตกต่างกันแล้วแต่สายพันธุ์ คือ มีทั้ง ใบกลม ใบยาว ใบกว้าง ใบแคบและใบบิด พื้นใบก็มีทั้งสีเดียว สองสี สามสี หรือมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่


ประกอบด้วยสีเขียว เหลือง แสด ชมพู และแดง จึงจัดได้ว่าเป็นไม้ประดับที่มีความสวยงาม โกสนเป็นพืชในตระกูล Cadiaeum Varigeatum มีถิ่นกำเนิดกระจัดกระจายอยู่ในมลายู อินเดีย จีน อเมริกา และยุโรป ในประเทศไทย พระยาภาสกรวงศ์ เป็นผู้สั่งนำเข้ามาจากอินเดียเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2423 เรียกกันว่า แขกดำ และได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงและขยายพันธุ์กันเฉพาะในวังของเจ้านายและข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเป็นเวลานานพอสมควร ต่อมาจึงได้ขยายตัวออกไปตามวัดวาอารามต่างและประชาชนทั่วไปตามลำดับ ทำให้มีการขยายพันธุ์โกสนออกไปอย่างกว้างขวางรวมทั้งมีการผสมพันธุ์ขึ้นมาใหม่อีกมากมาย


ลักษณะโดยทั่วไป โกสนจัดเป็นไม้ประเภทไม้พุ่ม มีขนาดตั้งแต่พุ่มขนาดเล็กจนถึงพุ่มขนาดใหญ่ โดยทั่วไปนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางเพื่อให้มีลักษณะเป็นพุ่มเล็กๆ แต่ถ้าปลูกลงดินและมีอายุหลายปีลำต้นสูงใหญ่เป็นพุ่มขนาดใหญ่ได้เช่นกัน จุดเด่นของโกสนคือเป็นไม้ที่มีใบแปลกไปจากไม้ชนิดอื่นๆ คือ มีรูปร่างลักษณะของใบแตกต่างกันออกไปหลากหลายรูปแบบ มีสีสันของใบหลายสีในใบหรือต้นเดียวกัน ส่วนประกอบของใบ ลักษณะรูปทรงและสี แยกออกได้ดังนี้


ส่วนประกอบของใบ พื้นใบ คือส่วนของหน้าใบทั้งหมด กระดูกหรือไส้ คือเส้นที่อยู่กลางใบ จากโคนใบไปหาปลายใบ หูใบ คือส่วนล่างทั้งสองข้างของกระดูก ตะโพกใบ อยู่ถัดจากหูใบขึ้นมาทางปลายใบเล็กน้อย สายระโยงหรือสายรยางค์ คือสายเส้นเล็กๆ ที่แตกออกจากหลังใบบริเวณปลายใบ และจะมีแผ่นใบเล็กๆ ที่ปลายสาย ปลายใบงอนปากเป็ด คือลักษณะของใบที่ปลายใบมนๆ และคอดไม่เหยียดตรงอาจงอนไปทางใดทางหนึ่ง ปลายใบจีบ มีลักษณะคล้ายปลายงอนปากเป็ด แต่ใบจะเหยียดตรงและทีปลายใบทั้งสองข้างจะจีบเข้าหากัน


                                                             สนับสนุนบทความโดย lucaclub88


                                                                  เว็บ บาคาร่าออนไลน์ ที่ดีที่สุด


ลักษณะรูปทรงใบ ใบกลม รูปใบมีลักษณะกลมคล้ายใบบัวบก ลักษณะใบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะมีสายเปียระโยง ใบกลมค่อนข้างยาว มีลักษณะกลมรี ส่วนใหญ่ปลายใบจะกระดกหรืองุ้มขึ้น กลางใบมีทั้งย่นและเรียบ ลักษณะใบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะมีสายเปียระโยง ใบกลมย่นไหล่ละคร มีลักษณะคล้ายใบกลมค่อนข้างยาว แต่ปลายใบจะกระดกขึ้นมากกว่า กลางใบนูนขอบใบทั้งสองข้างหลุบลู่ลงเป็นรูปหลังเต่าคล้ายเครื่องแต่งกายที่ประดับบนไหล่ทั้งสองข้างของตัวละคร ใบกลมตะโพกกว้าง รูปใบลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะมีหูใบผายตะโพกกว้าง ปลายใบเรียวเล็กลงงอนหรืองุ้มขึ้น ใบขนาดกลาง ขนาดของใบตั้งแต่ตะโพกถึงบริเวณกลางใบเกือบเท่ากัน ปลายใบเรียวเล็กลงงอนหรืองุ้มขึ้น ตะโพกใบมน ใบขนาดกลางปลายใบมน


ลักษณะของใบ


ไม่ยาวมากนัก รูปใบไม่บิด ปลายใบมน บางสายพันธุ์ตะโพกใบแคบบางสายพันธุ์ตะโพกใบกว้าง ใบแคบยาวตะโพกเล็กปลายใบจีบ ความกว้างหรือแคบของใบวัดที่บริเวณกลางใบ จากริมใบด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ใบลักษณะนี้จะแคบและยาว ปลายใบจีบ ใบยาวกลางใบบิด มีลักษณะคล้ายกับรูปใบแคบยาวตะโพกเล็กปลายใบจีบ แต่ช่วงกลางของใบจะบิด ใบยาวกว้างหน้าใบเป็นร่องลึกหลังใบนูน เป็นโกสนรูปใบยาว หน้าใบเป็นร่องคล้ายรางน้ำฝน หลังใบนูน ใบสามแฉกหรือใบตรี ลักษณะใบเป็นสามแฉกคล้าย อาวุธตรีศูล หรือ ใบสาเก มีทั้งสั้นและยาว ใบขนมเปียกปูน โคนใบและปลายใบแหลม กลางใบพองกางออกคล้ายขนมเปียกปูน


การกัดสีของใบ


โดยส่วนใหญ่แล้วใบอ่อนหรือใบน้องที่ผลิออกจากยอดใหม่ๆ ใบจะมีสีเขียวก่อน แล้วจะเปลี่ยนสีของพื้นใบจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปเป็นสีอื่นเมื่อใบมีอายุมากขึ้นเป็นใบพี่ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า กัดสี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการกัดสีของใบโกสนจะกัดสีจากใบอ่อนสีเขียวมาเป็นสีเหลือง เป็นชมพูอมส้ม และเป็นสีเปลือกมังคุดหรือสีม่วงอมดำตามลำดับ กัดสีจากลูกบวบไปหาขอบใบ ที่ด้านหลังของพื้นใบบริเวณกลางใบจะเป็นลอนๆ


คล้ายลูกฟูก เรียกว่า ลูกบวบ การกัดสีลักษณะนี้จึงเป็นการกัดสีจากบริเวณกลางใบไล่ไปหาขอบใบ กัดจุดประ คือลักษณะของสีที่ต่างกับพื้นใบเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง แต่ขอบของจุดจะพร่ากลมกลืนกับพื้นใบไม่เห็นขอบชัดเจน จุดประ คือลักษณะของสีที่ต่างกับพื้นใบเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง เห็นเป็นจุดชัดเจน กัดสีจากริมใบไปหากระดูก คือลักษณะการกัดสีหรือเปลี่ยนสีจากริมใบไล่เข้ามาหาไส้หรือกระดูก ใบแก่หรือใบพี่กัดจากริมใบและไส้หรือกระดูกและพื้นใบจะเปลี่ยนสี เป็นลักษณะการกัดสีจากริมใบและกระดูด เมื่อใบแก่พื้นใบจะเปลี่ยนสี


Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
รูปภาพ
(นามสกุลไฟล์ควรเป็น [ jpg , jpeg , gif ] และไฟล์ไม่เกิน 3 MB.)
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

สถิติ

เปิดเว็บ01/11/2012
อัพเดท25/08/2018
ผู้เข้าชม1,280,394
เปิดเพจ1,527,400
สินค้าทั้งหมด231

 หน้าแรก

 รู้จักร้านคริสเตียนกิ๊ฟช๊อป

 แผนที่

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อ/สั่งซื้อสินค้า

view